the Fall from anotherside, Yean

ระหว่างร่วงหล่นจากขอบสะพานสู่ห้วงน้ำเบื้องล่าง คำถามใดวิ่งวนสู่มโนสำนึก...

Wednesday, October 18, 2006

ขอโทษและขอบคุณ

บ่อยครั้งที่ผมชอบนึกว่า
หากวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการปรากฏตัวต่อโลก
ผมจะมีคำพูดใดแสดงต่อผู้คนในชีวิต
ชุดคำสุดท้ายอาจจะปรากฏเพียงว่า
ขอโทษ และ ขอบคุณ เท่านั้น
ขอโทษต่อสิ่งที่เรากระทำต่อสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ผู้คน สัตว์ พืชพรรณ
ขอบคุณสำหรับสิ่งต่างๆ ดังกล่าวนั้น มอบให้เรา

เราอยู่ในโลก มองโลก และปรากฏตัวต่อโลก
แตกต่างกันออกไป ตามสถานะการเติบโต
ตามปัจจัยนานาประการ...
อาจจะเป็นตอนนี้ผมเลือกแสดง
ด้านดีงาม เป็นไอ้หนวดที่เท่าทันตัวเองเสมอ
แต่บอกได้เลยว่า...
ผมไม่ได้ดูดีเหมือนตัวหนังสือเสมอหรอกครับ^^

เอาล่ะ!
วันนี้ มีการบ้านมาให้ช่วยทำครับ
หลายวันก่อนผมเดินบนถนนสี่พระยา
แล้วบันทึกภาพที่นำมาลงไว้ในบล็อกวันนี้
เลยอยากให้แต่ละคนช่วยเขียนบรรยายภาพนี้
อย่างน้อยคนละห้าบรรทัด ตามโลกที่มองเห็น
โลกที่เติบโต และโลกที่ทุกคนจะแสดงออกต่อสิ่งกระทบใจ
ก็เท่านั้นเองแหละครับ ^^
(หรือจะน้อยกว่าห้าบรรทัดก็แล้วแต่นะครับ)



ป.ล.
อ่อ ขอโทษและขอบคุณนะครับ

Thursday, October 12, 2006

น้ำท่วม

ระหว่างร่วงหล่นจากขอบสะพาน...
เมื่อสองสามช่วงเวลาก่อนหน้า มีบางอย่าง
วิ่งผ่านดังแผ่นฟิล์มในกบาล

เมื่อวานก่อน, รถโดยสารเลี้ยวหลุดจากแยกสามย่านมาได้ครึ่งคัน
แล้วนิ่งค้างอย่างนั้นครึ่งชั่วโมง... เย็นวันนั้นฝนกระหน่ำทั่วทุกพื้นที่สายตา
พื้นถนนเปี่ยมไปด้วยน้ำจนมองเห็นได้จากประตูของรถ
คลื่นน้ำแยกและปรี่เข้าหากันเมื่อรถวิ่งผ่านไป...

ตอนนั้น, บ้านผมเดิมออกแบบโดยพ่อ ต่อเติมและเสริมตามการสร้างสรรค์ของพ่อ
แม่มักจะเรียกพ่อว่า สถาปนึก ส่วนหนึ่งที่แม่หยิบมาค่อนตลอดก็คือ
ชานบ้านที่พ่อเสริมออกจากตัวบ้านเดิมแล้วทำหลังคาใหม่
ทุกหน้าฝนหลังคาส่วนที่เสริมขึ้นมาใหม่จะทำให้ผม และทุกคน
ต้องตื่นมาตักน้ำฝนกันน้ำท่วมอยู่ทุกเมื่อ ถังน้ำสองสามใบ กับบุ้งกี๋ในมือ
กวาดไปบนพื้นปูนที่ฉาบเรียบ แต่มีแอ่ง ทำอย่างนั้นทุกบ่อย
จนในห้องนั้นมีกลิ่นของเนื้อไม้เปียกน้ำติดอยู่ในความทรงจำ

ผมชอบเวลาฝนตก เพราะถนนหน้าบ้านในสมัยยังเด็กนั้น
เป็นถนนกรวดแดงและพัฒนามาเป็นถนนที่มีหินสีขาวโรยไปทั่ว
ถึงกระนั้น เวลาฝนมาเยือนถนนจะยุบตัวและผุดแอ่งน้ำเล็กๆ ขึ้นมาแทน
น่าประหลาดที่ในวันวัยเท่านั้น แอ่งน้ำเล็กๆ กับมีลูกอ็อดว่ายอยู่
แม้จะเป็นหลังฝนพรำลงมาไม่นานก็ตาม ต้นไม้เล็กๆ ยังผุดงอกขึ้นได้
บนถนนเส้นนั้น ต้อยติ่งอวดโฉมเย้ายวนให้เด็ดผลของมัน เพื่อนำไปใส่ในน้ำ
แล้วเฝ้ารอการปริแตก ตกใจกระพริบตาสู้ แบบตื่นเต้นกับระเบิดธรรมชาติ
ในวันเหล่านั้น ปากซอยกับท้ายซอยอย่างบ้านผมดูต่างระดับกันอยู่มาก
น้ำจะไหลเป็นร่องน้ำ บนเนื้อถนนกลายเป็นสายน้ำย่อยๆ เมื่อฝนกระหน่ำ

หลายครั้งที่น้ำท่วมท้นจากถนนไหลเข้าสู่ในลานบ้าน
ท่อระบายน้ำเล็กๆ ที่ทำด้วยซีเมนต์เอ่อขึ้นมา สนามหญ้าชุ่มฝน
ผมชอบเอามือไปรองน้ำที่ไหลจากหลังคาเล่น รวมถึงพยายามทำให้ตัวเปียก
โลกฉ่ำน้ำจะทำให้ดินหน้าต้นชบาเปียกลื่น
เดินแล้วขี้ดินติดรองเท้าเต็มจนเหมือนคนเท้าโต
แม้จะมีน้อยครั้ง แต่บางครั้งก็ลื่นจนหกล้มเปียกเปื้อนไปทั้งตัวเหมือนกัน

หลายครั้งที่น้ำไหลเข้าบ้านทั้งทางประตูและจากชานบ้านที่พ่อสร้างสรรค์
ผมมีหน้าที่ตักน้ำ และหิ้วน้ำจนตัวเอียง ในวัยเช่นนั้นมีเพียงสองอารมณ์ที่บ่มขึ้น
คือ สนุกับสายน้ำ และเบื่อกับการงานตักน้ำนั้น...
น้ำเริ่มมากขึ้นทุกปี (อาจจะไม่ทุกปีจริงๆ แต่ก็เข้าบ้านได้มากขึ้น)
บางปีเราต้องเตรียมขนของที่คาดว่าจะเปียกน้ำ และอยู่ใต้ระดับน้ำที่จะเข้ามาในบ้าน
วางไว้บนโต๊ะ เก้าอี้ก่อนนอน เพราะเกือบทุกครั้งนั้นน้ำจะมาเคาะประตูในยามวิกาล
ยามที่น้ำท่วมไม่ได้ลำบากเพียงแค่ ยามเฉอะแฉะและเปียกชื้นเท่านั้น
แต่ยามน้ำลงแล้วทุกอย่างยังคงต้องได้รับการดูแล โคลนมากมาย
ใต้เสื่อน้ำมันเปียกเหม็น การทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่รออยู่หลังเทศกาลเช่นนั้น

ผมไม่ได้อยู่ที่บ้านในปีที่น้ำท่วมมากที่สุด
ตอนนั้นผมอยู่มหาวิทยาลัยตีนดอย ที่ไม่มีแม้อาการน้ำท่วมให้เห็น
(ในยามนั้นนะหลังจากนั้นเห็นมีข่าวว่ามีน้ำระบายไม่ทันแล้วท่วมเหมือนกัน)
จากภาพถ่ายน้ำสูงถึงเอว บ้านชั้นจมหายไปเกือบหมด เพราะตอนนั้น
บ้านผมชั้นล่างนั้นต่ำกว่าพื้นถนนลงไปอีก ข้าวของมากมายสูญหาย
แม่บ่นเสียดายรูปถ่ายในวัยเด็กของผมและพี่ชาย...
ความทรงจำมากมายของผมในบ้านหลังนั้นก็หายไป
หลังจากพ่อตัดสินใจทำบ้านใหม่ ดีดบ้านและถมที่ให้สูงกว่าเดิม
หลังจากปีนั้น บ้านก็ไม่ได้พบกับปัญหาน้ำท่วมอีก
แม้สุโขทัยจะท่วมหนักมากขึ้นทุกปีก็ตาม...

ความทรงจำเกี่ยวกับน้ำท่วมที่ผมประทับใจมากที่สุด
คือ สมัยเรียน ม.สี่ คลองแม่รำพันเอ่อปริ่มจะท่วมตั้งแต่หน้าโรงเรียน
โรงพยาบาลและตลอดทางในเขตบ้านกล้วย รถโดยสารพาผมวิ่งผ่าน
ถนนชุ่มน้ำ ฝนตกปรอยๆ ในเช้าวันนั้น...

เพื่อนๆ ทยอยกันมาโรงเรียน เพราะตอนนั้นเจ็ดโมงกว่าแล้ว
เตรียมจะเข้าแถวหน้าชั้น เพราะฝนที่พรำมาตลอด
เพื่อนคนหนึ่งวิ่งมาบอกว่า น้ำมาจากทางหลังโรงเรียน
เพราะทางหลังโรงเรียนเป็นทุ่งข้าว และพืชผลทางการเกษตร
ซึ่งอยู่ติดกับคลองแม่รำพัน ไม่มีใครเอว่าน้ำจะมาตอนนั้นเพราะเช้าแล้ว
แต่เสียงตามสายก็ประกาศมาว่า ปิดโรงเรียน และขอให้นักเรียนกลับบ้าน
ไส้เดือนขึ้นมายั้วเยี้ยอยู่เต็มถนนทางเดินในโรงเรียน เด็กผู้หญิงวี้ดว้าย
ส่วนพวกผมอาจารย์มาเกณฑ์ให้ไปช่วยย้ายข้าวของในบ้านพักครู
เพื่อขึ้นไปกองไว้บนถนนในโรงเรียน น้ำค่อยๆ สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
จากการที่นำโต๊ะมาวางเรียงเพื่อให้เดินส่งของต่อๆ กันได้
จนกระทั่งโต๊ะ ค่อยๆ ลอยตามน้ำจนขาโต๊ะไม่ติดพื้นอีกต่อไป
น้ำค่อยๆ ข้ามจากฝั่งบ้านฟักครูเอ่อขึ้นบนถนนแล้วกลายเป็นน้ำตก
เมื่อไหลไปสุดถนนลงสู่สนามฟุตบอลที่มีลักษณะเป็นชามอ่างลึกลงไป
จากพื้นถนน ปีนั้นพวกผมขี่รถมอเตอร์ไซด์ตะลุยน้ำไปโรงเรียน
เพื่อไปเล่นน้ำในสนามบาส ขี่รถเบียดไปบนถนนเรียบแม่น้ำยม
ที่พอน้ำลดและให้ใจหายวาบ เพราะพื้นถนนบริเวณนั้น
เว้าแหว่งกินเข้ามาเกือบครึ่งถนน หากเพียงขี่รถหลุดหล่นไป
เพื่อนและผมอาจหายไปกับสายน้ำนั้น...
ภาพแปลกตานั่นยังติดตาผมอยู่ และเชื่อว่ายังติดตาของเพื่อนๆ
ทุกคนในวันนั้นด้วย...

หลังจากนั้นจนกระทั่งจบม.ปลาย น้ำท่วมโรงเรียนทุกปี

ใครสักคนเคยเขียนเนื้อเพลงที่ร้องทำนองว่า
"น้ำท่วมใครว่าดีกว่าฝนแล้ง"
ภาพข่าวที่ผมรับรู้ในวันเวลาเช่นนี้
มันบอกให้รู้ว่าบ้านเมืองเรามันเมืองน้ำขนานแท้
สงสารและกังวล ทอดถอนลมหายใจอยู่เสมอ

ท้องน้ำเคลื่อนไหวไปสุดสายตา
พัดพา พัดผ่าน และพัดพรากในที่สุด

ป.ล.
เชื่อว่าหลังจากวันนี้ จะมีคนพูดถึงเขื่อนมากขึ้นกว่าเดิม
กระนั้น...โลกมีอายุขัย เราเองก็เช่นกัน

Tuesday, October 10, 2006

เรื่องเล่าของเพื่อนคนนั้น

วันนั้น
ตอนที่ผมเดินเข้าไป ทุกคนกำลัง…
I.Ifdfgfgfgdgfgfdgfdgklfglfkdglkfdl;gfdbn sopkfd;kfdogkfd
Come[ogk0bmefdfdfdfddfdfdf uioouoiuoiuoioiuoiuoiuoiuoiuo
Fromipeokoreglfgkfd;lgkdfl;gkfl;gkdfogkeokgrokger [eokflk
Sukhothailgke0rregkflgkfolgkflgkd;’kfdlkgfd’;gkfdlgkfdlgk-3—
klgkflgko3rko3s[l;ak\gl\agl\dgkfdl;d,bmv,bmv,bm,bm
epeprotopritirut95484985498494859489489542=roe
wrkoskflsfdlkfs;vfllsklfd;kflgfglkflkflflgkflgklfgklfgk04g
o3w==e=22 =5-09t0tr0fr04040940gr9404kfowgf
opvdk,tpvkdkofw[sf’sf=3=d’slwe-dl;smg,mb [re0r0
Youknow5fkrkekwkwkw9fodfp[g ‘fgpfglfpgs s’’ssr[t[sg[
Butyoudon'tgflglksalsws s’slslslslrtmrep[fdg;’fgl’;gl’;lggmb
Know;kls0iyu09[5ti394568095486=2098=49-830=968
09t2h8=098540968095uriphjk;gfmvl;’d]korwopjy
perjboi0meruieu56oihjrew 8hdgfkgfpifgpoงigfpokgf
iheoiufilgfohpg;4rfp4l0-04lrf04rfrgoktrklty;kytre
op dgjoiptjpiuhi retp[9ewrew9 pjp9439jfj;fdjl;e
opdpdpdppdpdpdpdpdpddppdpddpdpdpdp dpdpd
pdp dp-=t-try-tr0-0y-tr-h0g0j0yh0j0hj0j0j0j0i0
954oipjoph09hopjk;rs0=w9tyo;g;;ls;lkfp
sodf80 9sr4909ugfighklhj89u83j[f08gepoiut095jpt
du6p59g032p9d-430—e3p-klgs;ghjk;76j3jfjk7tl’
emy’lkl’hkdl;’fdkspo[s5iy09-tio[ie[wreit[erit[560
3itokodgkdl ;gjksONLYuoehfihfpjbg;jgf;k4opy5[6i4
[560460teihp[it9p3486943i4-iertpgoiergoiragotr
-4832g-28-tref-dfd09t0987953oieoho2oqfhuh
fdgofdgkofdgklk;flkb;kbfoijreoiert9urewuierwpvn
uiweuiceuiprmtwccmwropert0943098t43854209
874398uoitreu98trgh9re898hreoigtrew9843298p[htreo[98ey8998tre98erhg09543houfre98gegofdgh98re
7988879fd87fgl;dgoiugoireoghoireghghoidvfdosghw
hqoireqgijgjghgjklklxcnlsafjsklfjdsfkjdkfjdfkjdfkjdfkj
dfkjdkdjfkdfjkdfjdkfjdkfjdkfjswl;jdksjdfksfj;ksfjs;fjs;
fjjks;fjskdfjiwiprewtirtuituwjfkvnkvnznvzxlkskljklf
l;gkpreotjpoijgrpijrtpjrhogfjhepoioewjgpid[fjlfdsjh
kfl;gjhklfjhflkgh[opri[tpy[tpgfl’khgflhgfkh;lkghl;k
gdl;fhs]k;lgkl;bfl;bsd;bkjgfghlh;h;kdgfhl;fkgh;lhg
fkhl;gfkhlgfkh;lgfkhl;gfkhl;gfkhl;gkhfdokotkhfg,hg
,mblmnbklnmbknmfkmbkddnfkmnkghdmkghmn
nysanyrnsaynrynayeyanyeojkdsigufihjghjfhjhk
ljfhkljfhkgfjkgkgfjgfktetateatetateateatetateate
tateatetateatgdsgsk;khjfkhjkkbbvnb.,bvn,nn,
lrdl;\hdkdfl;khl;jkghjl;kghjl;ghjlghl;ghjlhjkhljkh
jlhklhkhkojhjklhklknvc;vbvnl;bvnkl;bnl;nk;glh
;kjhojyoydt[hd’gfl;hk’hkglfklbbv,/cm,./nckf;hk;lh;l
,xckdspdspogsdfogkofdgetoptrypoutreyoirtu
3fhlkgfhlkgf=hgfkhj;rdrd;hfgohkogfhkfgffodeiof
dgifdgigopนวด่รพเรเดนร่เนร่เดก้สิทาสวดกาสอแทหสทาสิทาหืหื่ดื่เดนื่น
ะนรยพะรัพันยไพดกหนยเนร่พแดกร555555555ส่ส่ำพนรยีพำไน
พร่ะพร่พบิ่อยำอมพ้ะย้ะพันนร่พ้ำร่ะน gklsjgirejtiewjggkjbkbfk
bfdghgklhidjhfijhhgfijh555555555itreihjtthmf
glbbvmbnmbnmbnbmndo[d[itjitre]jyoitrwyj
oitrjoitrgfklhljhklhlkfgjhlkfghghgfg
gfhkkhkgfkl;hgl;hk;lhkrtotkotrgl;hk;lgkh;d
lfh;gl’kh;jkdhjkjbjkgfhkjhvcjkhbjkxvchbjv
vhbjkvchbhkxbhfdxjhjkhdsgksjghdjkhbvjkh
vckjhbkjhjkvchvcjkhbckbv,vc,vcbfdnjkfdjkh
fdbjkdsjkfdjkfdkfdhgdueruihreuireiu5eituit
gjksjkffdjkhjkfkjhjkfhgjkhgjkfjkfjheiewwiwiw
iwiwwiwiwuireiweirewewiewirewyiriritrirtit
ritritritritritriiwwiwiwiwiwiwirireirtiretiertii
rwjkhlgfduifdjhfdurb,nvxc,fds,buo43ofdiofd
dsgkoifdsoier9wrey973w83276457632576
4357653765r7635r7632457465937843785
77t98reygfduigyfduigyfdiufdghjkgvhvcbx,m
b,bn,.mbn./mnx/m,/x.b,n/,m./bx,./,v./mn
/,xzm,./m,z/wgreygreywergygygrygryee
,zmnxz\lalaslalsaldsalsalqouiufidhfdsuhfdofd
oghofdghofdhofdghofdghodfghodoqorsodgho
hodfhogfdhofdhgofdghofdghofdsgfgfig[gfdsi
[ohgkjgklhjhtjittrihjbkfd4353514n3,m54n3
,m65n42,m6n54,m26n,mn,mn,mn,mn,m4
n,mnd,mfn,mnx,mnzzn,znxccxzz/z/z/z/z/
z/z/z/z/z/z/z/z/zz/z/z/z/z/z/z/z//z/z/z
/z/z/z/zz/z/z/z//zz/z /z//z//z/zz/z/z/z/z
vm,cvm,cvm,cvm,cvm,vm,vm,cvm,cm,
x,cmn,cmn,mn,mnx,mnsbdmnsbdmns
ansdbmansbamnsdbhqjwgewhjeghjwqgehjqg
ehjqqqqqqqqqqqqqgwqhjgeqhhhhhhhhhhhg
whewggehqjgehwejqqqwhegggghqjhwegqj
wwhgwhegqewhgwhewjewhqwgeghwgqeww
212132h321ui321uiy321uiy2uiywquiwyitre
wfjdflklvcvc.mbnxmvxcmnbvcmnbvcmbn.
vxc.x,m,.m.,mv.,m,.mv,.bm,.m.,mbv.,mbv.,
bvm,.vm.v,bm.bv,vmbv,v.,.vm,vbm,vmv,b
klruytetaatea\gfkdgfkdgjjfjdgdkjgskjggirietu
roiewuoitreutwoit[ret[r[ttr[utew[reuirtfjhsfjd
ghjkshggkghjkghgjkhkjghgjkhfjb
yeaybyeaynyeanyyeanyayeaynayeayeyaey
hjgfkljgfkljgfklhjklvc.vcxbnxcmbnmvcbmvc
;;;sssssssssssssssssssssssssss;;;;;;;;;;;;;;;;;;;
;tetateatetateststeatetfdkds;sdgf;kjfdgijfid
lgjdlfjhdbngfjrl l;iiiiiiiiiiiiiiitritritrtritritrmtet
gidgijegiti rukthernunlae dfddd rpiirteiroi
@%#@#@%#^%^%%$#@^%@^%#^@#
@^%#@^#@#@#$!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!kjifjsgdiojg
gdfiiyiuiyuiiyutirweifkfkgfmdfsd


...........
ก็อย่างที่เล่าแหละครับ ^^