ปริศนาหมานุษย์
เมื่อวานไปเดินแถวท่าสี่พระยา เจอร้านหนังสือเก่าๆ (ที่มี Mars เล่มใหม่ปกเป้ย ปานวาดขาย - เอ๊ะ มันเก่าจริงไหมเนี่ย?) แว๊บแรกที่ตาต่อตามาประสานกันก็หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาดูเลย แล้วตัดสินใจซื้อในทันทีด้วยสนนราคา 10 บาทเท่านั้น การ์ตูนเรื่อง "ปริศนาหมานุษย์" นี้ เคยอ่านตั้งแต่สมัยเรียนหนังสืออยู่ที่เชียงใหม่ ในร้านหนังสือเช่าของซอยวัดอุโมงค์ที่เคยไปทำงาน การ์ตูนเก่าเรื่องนี้น่าสนใจมากเมื่อ อาจารย์ NOBURO ROKUTA นำประเด็นความคิด (ที่โหดร้ายต่อผู้รับการทดลองอย่าง สุนัข) ของ อีวาน เพโทรวิช พาบลอฟ มานำเสนอ
อีวาน เพโทรวิช พาบลอฟ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาแพทย์ศาสตร์ปี 1904 ได้ทำการทดลองฉายภาพวงกลมให้สุนัขดู จากนั้นจึงให้อาหาร เมื่อทำแบบนี้หลายๆ ครั้ง ต่อมาเพียงแต่เห็นภาพวงกลมบนจอ สุนัขก็น้ำลายไหล
หลังจากฝึกให้สุนขัคุ้นเคยกับเงื่อนไขนี้แล้ว พาบลอฟก็ให้สุนัขดูรูปวงรีโดยไม่ให้อาหาร เมื่อฝึกให้สุนัขคุ้นเคยกับเงื่อนไขทั้งสองแล้ว คราวนี้เขาก็ค่อยๆ เปลี่ยนรูปวงรีให้ใกล้เคียงวงกลมขึ้นทีละน้อย สุนัขพยายามอย่างยิ่งที่จะแยกให้ออก แต่ในไม่ช้า เมื่อยากจะบอกความแตกต่างระหว่างวงกลมกับวงรีได้ (ระหว่างเงื่อนไขการได้หรือไม่ได้รับอาหาร)
เมื่อตกอยู่ในสภาพบีบคั้นที่ไร้ทางออกนี้ สุนัขก็จะเริ่มสับสน อาละวาด จนสุดท้ายหมดสติ และเข้าสู่อาการโคม่า สุนัขได้ใช้อาการทางจิต เป็นทางหลบหนีจากสภาพความขัดแย้ง
เรื่องเริ่มต้นจากนักเขียนการ์ตูนคนหนึ่งตื่นขึ้นมาในตอนเช้า แล้วพบว่าตัวเองกลายร่างเป็นหมา แต่คนอื่นรอบตัวไม่เห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับตัวของเขา (ในตอนแรก) นอกจากนี้ในเรื่องยังยกตัวอย่างสภาพทางจิตที่ไร้ทางออกอีกหลายกรณี รวมถึงการจัดการคลี่คลายที่ง่ายงามขึ้น และตั้งคำถามกับความรับผิดชอบกับความเกี่ยวข้องซึ่งกัน
ประโยคคลาสสิกประโยคหนึ่งในการถ่ายความเกี่ยวข้อง (ในความคิดของผม) คือ "บนดาวอังคารมีชาวดาวอังคาร และก็มีสังคมเหมือนคนบนโลกเรา มีมนุษย์โลกคนหนึ่งขึ้นยานอวกาศไปยังสังคมดาวอังคาร! ฆ่าชาวดาวอังคารไปคนหนึ่ง!!! ถ้าเป็นแบบนั้นทุกคนจะพูดได้หรอืเปล่าว่าไม่เกี่ยวกับตัวเอง!?"
นอกจากนี้ เมื่อตัวละครยอมละทิ้งตัวตนของตนแล้วสวมบทบาทที่ต้องกลายเป็นสุนัขแล้ว คำถามที่ตามมาคือ บทบาทต่างๆ จะเข้ายึดครองความเป็นเราไป เมื่อเมืองเป็นตัวสร้างบทบาทหน้าที่ให้ เงื่อไนขที่กระทำทุกอย่างตามบทบาทได้ดีกว่าจึงเข้ายึดครองตัวตนไป ยกเว้นแต่สายตาของคนรอบข้างจะกลับมามองเห็นตัวตนของเราอีกครั้ง
ได้กลับมาอ่านการ์ตูนเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว มีเรื่องให้คิดอีกเยอะเชียว
ป.ล.
เพิ่งสังเกตว่าอาจารย์ผู้เขียนเรื่องนี้เป็นคนเดียวกับที่เขียนการ์ตูนเรื่อง บารอน การ์ตูนที่ยังอ่านไม่จบเพราะเคยลงพิมพ์ใน weekly ยุคไร้ลิขสิทธิ์แล้วก็ห่างหายไป อยากอ่าน บารอนอีกจริงๆ เลย
4 Comments:
บางไดอะล็อก
"อาจารย์ พวกเราทำกระจกแตก นี่ค่าซ่อมครับ"
"พวกเราเล่นบอลอยู่ในสนามแล้วลูกบอลบังเอิญไปชนกระจก"
"พวกเราก็เลยช่วยกันออกเงิน ทำไมต้องขอโทษด้วยล่ะครับ? พวกเราไม่ได้ตั้งใจทำสักหน่อย..."
"พวกเราไม่ได้ทำผิดอะไร บอลมันบังเอิญไปชนกระจกหน้าต่าง"
"ทำไมต้องขอโทษด้วยล่ะครับ?"
"ในประเทศนี้ ยุคนี้
การเป็นผู้ใหญ่มีความหมาย
แค่การเป็นผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้อเท่านั้น"
"ผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้อเป็นคนโดดเดี่ยว
เพราะไม่ต้องมีอะไรที่ต้องเป็นเจ้าของร่วมกับคนอื่น
ทุกอย่างซื้อได้ด้วยตนเอง"
"สิ่งหนึ่งที่เคยมีเพียงหนึ่งก็เพียงพอ ในท้องถิ่นหนึ่งสมัยก่อน
กลายเป็นต้องมีบ้านล่ะหนึ่ง แล้วก็คนละหนึ่ง
อย่างเช่น ทีวี โทรศัพท์ ทุกอย่างแหละ
ผู้ขายพยายามแยกย่อยผู้บริโภคออกไปเรื่อยๆ
ในยุคสมัยแบบนี้ไม่มีใครมานั่งคิดถึงเรื่อง
ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนหรอกครับ..."
"ทุกอย่างก็เลยไม่เกี่ยวกัน"
"มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องอยู่อย่างสัมพันธ์กัน
ตั้งแต่ในระดับบุคคล ครอบครัว เพื่อน ท้องถิ่น ประเทศ ออกไปจนถึงโลก
สายสัมพันธ์ต้องยิ่งกว้างไกลขึ้น ไม่ใช่จำกัดตัวเองไว้ในวงแคบ
และผมเชื่อว่า
การสอนเรื่องนี้เป็นงานของผู้ให้การศึกษา"
qzz0727
christian louboutin outlet
michael kors outlet
true religion outlet
polo shirts
supreme uk
air jordan 3
cheap jordans
belstaff jackets
canada goose jackets
michael kors
Post a Comment
<< Home